A story should have a beginning, a middle and an end, but not necessarily in that order.
Jean-Luc Godard
Film Review
- ควันหลง กางจอ 29 ยังแจ๋วได้มีโอกาสไปดูหนังในงานฉายผลงานธีสิสของนิสิตคณะนิเทศศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ กางจอ ครั้งที่ 29 ประทับใจมาก ๆ รวม ๆ แล้วหนังส่วนใหญ่พูดถึงประเด็นที่มีความเป็นส่วนตัวสูง … Continue reading ควันหลง กางจอ 29 ยังแจ๋ว
- บูชา – ในวันที่ความเชื่อมีราคา และศรัทธามีค่าแสนถูกคาร์ล มาร์กซ เคยกล่าวไว้ว่า ‘หากปรากฏการณ์กับแก่นแท้ของความจริงเป็นสิ่งเดียวกัน คงป่วยการที่จะมีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์‘ ระหว่างดูสารคดีเรื่อง ‘บูชา‘ ของอุรุพงศ์ รักษาสัตย์ ก็อดไม่ได้ที่จะนึกถึงวาทะดังกล่าว … Continue reading บูชา – ในวันที่ความเชื่อมีราคา และศรัทธามีค่าแสนถูก
- Broker – การเดินทางรวดร้าว ของครอบครัวอื้อฉาวบทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาของภาพยนตร์ ราชบัณฑิตยสถานให้นิยามความหมายของ ‘ครอบครัว’ เป็นคำกลาง ๆ ไร้ความรู้สึก ไม่ได้เอียงแอ่นไปในทางบวกหรือลบเสียทีเดียว แต่กระนั้น ‘ครอบครัว’ คำสั้น … Continue reading Broker – การเดินทางรวดร้าว ของครอบครัวอื้อฉาว
- Everything Everywhere All at Once – เหตุเกิดจากปัญหาเล็กจ้อยระดับจักรวาลไม่ว่าเรื่องราวประเภท ‘ธรรมะย่อมชนะอธรรม’ ซึ่งพักหลังขยับขยายกลายเป็นความขัดแย้งระดับหพุจักรวาล จะควรค่าแก่การจัดเป็น ‘นิทานหลอกเด็ก’ หรือ ‘ความบันเทิงชั้นเยี่ยม’ มากกว่ากัน อย่างหนึ่งที่แน่ ๆ … Continue reading Everything Everywhere All at Once – เหตุเกิดจากปัญหาเล็กจ้อยระดับจักรวาล
The Perfect shot
Days | กรุงเทพ เมืองแห่งการพานพบและพลัดพราก
ถึงแม้โดยเนื้อแท้แล้ว Days ผลงานล่าสุดของไฉ้หมิงเลี่ยงที่เพิ่งฉายไปในงานเทศกาลหนังสารคดีไต้หวันครั้งล่าสุด จะว่าด้วยเรื่องราวของความเสื่อมสลายทางกายภาพ โดยเฉพาะของหลี่คังเซิงที่กำลังป่วยไข้จากอาการปวดกล้ามเนื้อต้นคอ (ชวนให้นึกถึงเรื่องราวใน The River ที่เขากำลังประสบกับอาการเดียวกัน และตอกย้ำความเป็นจักรวาลหนังของไฉ้หมิงเลี่ยงอยู่กลาย ๆ) แต่ในอีกด้านหนึ่ง หนังยังฉายภาพให้เห็นกรุงเทพที่ไม่ได้ทำงานเป็นเพียงฉากหลังของหนัง แต่เรียกได้ว่าเป็นอีกตัวละครหนึ่ง เป็นสถานที่ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้คนหลากหลายชนชั้น ฐานะ กระทั่งเชื้อชาติ เข้ามาพบปะซ้อนทับกัน ณ ช่วงเวลาหนึ่ง และหากโชคดีพอ มันอาจก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันมีรูปแบบที่จำเพาะเจาะจง ถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงชั่วข้ามคืนก็ตาม ในแง่นั้น ช็อตหนึ่งใน Days ที่ดูจะบันทึกสถานะความเป็นเมืองแห่งการพานพบและพลัดพรากของกรุงเทพได้แจ่มชัดดีจริง ๆ (และเป็นช็อตที่กลายมาเป็นภาพโปรโมตของหนัง) เกิดขึ้นหลังจากที่ตัวละครทั้งสองเสร็จกิจในห้องโรงแรม ด้วยภาพที่สองชายหนุ่มกำลังนั่งรับประทานก๋วยเตี๋ยวในร้านข้างทาง หนังจดจ้องไปยังอากัปกิริยาของสองหนุ่มที่ต่างฝ่ายต่างก้มหน้าก้มตาเคี้ยวกลืนอาหารในถ้วยชามของตนเอง ไม่เปิดเผยว่าพวกเขาคุยอะไร หรือคิดอะไร ความเงียบงันระหว่างทั้งคู่ถูกแทรกแทนด้วยภาพผู้คนเดินขวักไขว่ไปมาและเสียงรถราที่เคลื่อนผ่านอย่างไม่มีทีท่าว่าจะเงียบลง โดยปริยายมันตอกย้ำถึงความฉาบฉวยและช่องว่างของความสัมพันธ์ระหว่างชายหนุ่มทั้งสอง คนหนึ่งต้องการผ่อนคลายความเจ็บปวด คนหนึ่งต้องการเงินสำหรับประทังชีวิต คนหนึ่งเป็นคนไต้หวัน คนหนึ่งเป็นคนลาว คนหนึ่งมากอายุ คนหนึ่งรุ่นราวคราวลูก แต่กระนั้น โชคชะตาก็นำพาให้คนทั้งสองได้มาพบกัน ณ เมืองแห่งนี้ พูดได้ว่าการพบปะกันระหว่างทั้งคู่ซึ่งตั้งอยู่บนหลักของการซื้อขายแลกเปลี่ยน ทำให้หลี่คังเซิงได้ผ่อนคลายความเจ็บปวด ขณะที่ชายหนุ่มก็รอดพ้นจากความหิวโหยไปอีกคืนหนึ่ง โดยปริยาย ช่วงเวลาดังกล่าว ณ ร้านก๋วยเตี๋ยวจึงกลายเป็นการประวิงเวลาสำหรับการจากลาที่พวกเขาทั้งสองไม่อยากให้เกิดขึ้น แต่ก็รู้อยู่เต็มอกว่าไม่ว่าอย่างไรมันก็จะต้องมาถึงในที่สุด พูดอีกอย่าง…
Dance of the Great Hunger
ฉากหนึ่งที่งดงามและคมคายที่สุดใน Burning (2018) ของอีชางดง คือฉากที่แฮมีเต้นรำ ‘Dance of the Great Hunger’